รูปแบบการจัดการความรู้



รูปแบบการจัดการความรู้ 
          (ธีระพล มโนวรกุล, 2551) ความรู้ในองค์กรนับเป็นทุนที่สำคัญจึงต้องมีการจัดการความรู้ที่เหมาะสม ดังนั้นองค์กรต้องเลือกรูปแบบการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับองค์กรของตัวเอง เพื่อที่จะได้นำรูปแบบนั้นมาประยุกต์ใช้จัดการกับความรู้นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การที่องค์กรจะเลือกรูปแบบของการจัดการความรู้มาใช้นั้นองค์กรจะต้องศึกษารูปแบบของการจัดการความรู้ต่างๆ มาเปรียบเทียบกันและ นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมรูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรก็มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
          การเรียนรู้แบบ วงลูปเดียว (Single Loop Learning) การเรียนรู้ในแบบนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อองค์กร
เผชิญหน้ากับปัญหาและความผิดพลาดทางการจัดการให้มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยมีการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการสะสมการเรียนรู้
          การเรียนรู้แบบลูปซ้อน (Double Loop Learning) เป็นการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและสนับสนุนการ
ตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผลซึ่งเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างการเรียนรู้และเป็นที่มาของแบบจำลองธุรกิจใหม่ที่สอดคล้องกับความซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการแข่งขัน
          การเรียนรู้แบบลูปสามชั้น (Triple Loop Learning) เป็นการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาหลักการใหม่ที่
องค์การสามารถนำไปดำเนินการในขั้นต่อไป

รูปแบบการจัดการความรู้ในประเทศไทย
          รูปแบบการจัดการความรู้ในประเทศไทย มีหลากหลายรูปแบบด้วยกันแต่การนำมาใช้นั้นองค์กรต่างๆก็มีการประยุกต์ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรของตัวเองในครั้งนี้จะกล่าวถึงรูปแบบการจัดากรความรู้ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย 2 รูปแบบ คือ Tuna Model และ Xerox Model และอีก 1 รูปแบบทีจะกล่าวถึงเป็น Model ที่น่าสนใจที่คิดค้นและพัฒนาโดยคุณณัฐพล รำไพ คือ i-cando Model โดยมีรายละเอียดของแต่ละรูปแบบดังนี้
               1. Tuna Model 
         (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม, 2548) แนวคิดรูปแบบการจัดการความรู้ ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในรูปแบบปลาทูนั้น มีแนวคิดที่ว่า ปลาทู 1 ตัวมีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งจะอธิบายว่าแต่ละส่วนคืออะไรมีความสำคัญอย่างไร
               เป้าหมาย (ส่วนหัวปลา) หรือ KV (Knowledge Vision) ส่วนหัวที่ทำหน้าที่มองหาเส้นทางที่เดินทางไป แล้วคิดวิเคราะห์ว่า จุดหมายอยู่ที่ไหนต้องว่ายแบบใดไปในเส้นทางไหน และไปอย่างไร ในที่นี้เราจะเปรียบเป็น การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)ก่อนที่เราจะทำงานอะไรซักอย่างเราต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการอะไร จุดหมายคืออะไร และต้องทำอย่างบ้าง
              ส่วนกิจกรรม (ตัวปลา) หรือ KS (Knowledge Sharing) ส่วนลำตัวที่มีหัวใจของปลาอยู่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ในที่นี้เราจะเปรียบเป็น การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) คือเราจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศที่เกิดการเรียนรู้เพื่อให้คนเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

              ส่วนการจดบันทึก (หางปลา) หรือ KA (Knowledge Access) หางปลา ทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเคลื่อนที่ไป เปรียบเสมือนการเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) หรือ คลังความรู้ ที่ได้จากการเก็บสะสมความรู้ที่มาจากการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งความรู้เหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือ คู่มือต่างๆโดยทุกส่วนนั้นมีความสำคัญ และ เชื่อมโยงถึงกันเพื่อให้การจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหากส่วนใดที่ทำแล้วบกพร่องหรือไม่ชัดเจนก็จะส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ตามมาด้วย

]


               2. Xerox Model
          (ศรีไพร และเจษฎาพร, 2549) รูปแบบของการจัดการความรู้ เป็นรูปแบบที่บริษัท Xerox Corporation ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จ (ตามแนวคิดของ Mr. Robert Osterhoff) และมีหลายองค์การในประเทศไทยที่มีการนำรูปแบบนี้มาเป็นกรอบแนวคิดในการจัดการความรู้ ประกอบด้วยกระบวนการดังนี้
           -  การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม (Transition and Behavior Management) สร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร และความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับ
          - การสื่อสาร (Communication) องค์การต้องมีการวางแผนการสื่อสารอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง
และสม่ำเสมอ โดยคำนึงถึงเนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงช่องทางในการสื่อสาร
          - กระบวนการและเครื่องมือ (Process and Tools) มีกระบวนการและเครื่องมือที่เหมาะสม และเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในองค์การ
          - เรียนรู้ (Learning) เป็นการเตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจเพื่อให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการความรู้ รวมถึงจัดการฝึกอบรมที่เหมาะสมให้กับบุคลากร
          - การวัดผล (Measurements) เลือกการวัดผลเพื่อให้ทราบถึงสถานะ ความคืบหน้า และผลที่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถทบทวน และปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายจองการจัดการความรู้
          - การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (Recognition and Rewards) มีการยกย่องชมเชย และระบบการให้รางวัลเพื่อจูงใจให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมโดยเป้าหมายของการจัดการความรู้จะถูกกำหนดให้สอดคล้องกับทิศทางในการดำเนินธุรกิจ และ เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร

3. I - Cando Model 
          (ณัฐพล รำไพ, 2544) รูปแบบการจัดการความรู้ผ่านเว็บที่เสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครู เป็นการนำเอาแนวคิดและหลักการของการจัดการความรู้(Knowledge Management) และการเรียนรู้ผ่านเว็บ (Web-based Learning) มาผสมผสานกับแนวคิดพื้นฐานการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมผ่านเว็บ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน (Competency) โดยต้นแบบดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ (Systematic Approach) อันประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ หลัก ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต(Output)

          ปัจจัยนำเข้า
          เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้ผ่านเว็บ (Elements of Web-based Learning) ซึ่ง
ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 3 ด้าน ได้แก่ ผู้เรียน (Student) ผู้สอน (Teacher) และปฏิสัมพันธ์
(Interaction) ทั้งนี้ลักษณะการเรียนรู้ดังกล่าวจะอาศัยความสามารถของเทคโนโลยีการเรียนรู้ผ่านเว็บ 3 ส่วนได้แก่ เทคโนโลยีการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration Technology) เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และเทคโนโลยีฐานข้อมูล (Storage Technology)

          กระบวนการ
          1.การค้นคิดและสรรค์สร้าง (Creating) คือ กระบวนการสร้าง การกำหนด การแสวงหา การ
ดำเนินการ การจัดหา และการกำหนดเป้าหมายหรือการนิยามความรู้ให้ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้
ขับเคลื่อนโดยกิจกรรมคิดค้นค้นหาตัวตน
          2.การพิจารณาและคัดสรร (Analyzing) คือ กระบวนการคิดวิเคราะห์ พิจารณาเลือกสรร กลั่นกรอง
ความรู้ และการจัดประเภทหรือหมวดหมู่ความรู้ ขับเคลื่อนโดยกิจกรรมชุมชนคนสนใจ
          3.การลองทำและนำไปใช้ (Nurturing) คือ กระบวนการนำเอาความรู้ที่หาได้มาจากการพิจารณา และเลือกสรรความรู้ มาฝึกกระทำ หรือลองทำ และประยุกต์ใช้ความรู้ในทางปฏิบัติ ซึ่งทำให้ความรู้ฝังลึก (TacitKnowledge) สามารถถ่ายโอนและปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
          4.การกระจายและแบ่งปัน (Disseminating) คือ กระบวนการที่ได้จากการนำความรู้ไปลองทำ และประยุกต์ใช้ความรู้แล้วมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยน กระจาย และถ่ายโอนความรู้ร่วมกัน ขับเคลื่อนโดยกิจกรรมชุมชนคนปฏิบัติ
          5.การประเมินและปรับปรุง (Optimizing) คือ กระบวนการนำเอาความรู้ที่ได้จากการเผยแพร่แล้วมา
ประเมินและปรับปรุงด้วยตนเองเพื่อนำไปใช้ในการทำงานการแก้ไขปัญหา หรือการตัดสินใจต่างๆ ขับเคลื่อนโดยกิจกรรมแบบอย่างปฏิบัติที่เป็นเลิศ

          ผลลัพธ์
          ประกอบด้วยการประเมินสมรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียน(Competency) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้
(Knowledge) พิจารณาจากผลการประเมินตนเองของนักศึกษา (Knowledge assessment) ด้านทัศนคติ
(Attitude)พิจารณาจากผลการประเมินทัศนคติของนักศึกษา (Attitude assessment) และด้านทักษะ (Skill)พิจารณาจากผลการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักศึกษา (Performance assessment)




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge management (KM))

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการความรู้