เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการความรู้




เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการความรู้ 
          (สมชาย นำประเสริฐชัย, 2549)เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (Information and Communication Technology)หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
          กล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ (สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2547) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สมชายนำประเสริฐชัย (2549) ได้จำแนกเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
               1. เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้
ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต
               2. เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้สามารถประสาน
การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่น โปรแกรมกลุ่ม groupwareต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น
              3. เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้ในองค์การ
          เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้โดยเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการจัดการความรู้ในองค์การให้มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้กับการจัดการความรู้ เช่น
                - ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Document and Content Management Systems)
                - ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร (Search Engines)
                - ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
                - ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VDO Conference)
                - การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย (Web Board หรือ e-Discussion)
                - ซอฟต์แวร์สนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Groupware)
                - บล็อก (Blog หรือ Weblog) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือประสบการณ์ ผ่าน
พื้นที่เสมือน (Cyber Space)

ขั้นตอนของการพัฒนาองค์ความรู้
          ฟังก์ชันหลักของ knowledge management system เป็นไปตาม 6 ขั้นตอนที่หมุนวนไปตลอดเวลา
ได้แก่
          1.สร้างองค์ความรู้ (Create knowledge) เช่น พนักงานหาวิธีทางใหม่ ๆ ในการทำงาน หรือพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ (know-how)ขึ้นมา หรือ นำองค์ความรู้จากภายนอกเข้ามา
          2.จับองค์ความรู้ (Capture knowledge) องค์ความรู้ใหม่ต้องถูกระบุในเชิงความมีคุณค่า (valuable)
และ นำเสนอขึ้นมาในแนวทางที่เหมาะสม
          3.ปรับองค์ความรู้ให้เหมาะสม (Refine knowledge) องค์ความรู้ใหม่ต้องจัดให้อยู่ในรูปที่ในไปใช้งานเชิงปฎิบัติได้ ดังนั้น องค์ความรู้แบบ tacit ต้องเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบ explicit จัดเก็บองค์ความรู้ (Store knowledge)
          4. จัดเก็บในรูปแบบที่เหมาะสมที่สามารถ access ได้
          5. บริหารจัดการองค์ความรู้ (Manage knowledge) ต้องจัดเก็บองค์ความรู้ที่เป็นปัจจุบัน ต้องนำมา
ทบทวนในเชิงที่สอดคล้องกับปัญหาและความถุกต้อง
          6.กระจายองค์ความรู้ (Disseminate knowledge) ดำเนินการให้มีการกระจายองค์ความรู้ไปยังผู้ที่
ต้องการ ทุกที่ ทุกเวลา



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge management (KM))

รูปแบบการจัดการความรู้